การเรียนดนตรีช่วยเสริมทักษะ EF ได้จริงหรือไม่

By Kru Cindy Smart Melody, 14 May 2021
ทักษะEF

การเลี้ยงเด็กของพ่อแม่ยุคใหม่ปัจจุบัน แนวคิดที่กำลังฮิตมาแรง นอกเหนือจากการโฟกัสเรื่องพัฒนาการทางด้าน IQ ความฉลาดทางสติปัญญา และ EQ ความฉลาดทางอารมณ์ อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คงเป็น EF (Executive Functions) องค์ประกอบที่ทำให้เด็กมีชีวิตประสบความสำเร็จ เอาตัวรอดได้โดย “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็น และมีความสุขเป็น”

เคยมีนักวิจัยทำการศึกษาเรื่องนี้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนดนตรีว่ามีผลต่อการพัฒนาทักษะ EF หรือไม่ ยกตัวอย่างผลการวิจัยในประเทศอังกฤษซึ่งได้ทำการทดลองระหว่างเด็ก 2 กลุ่มที่เรียนดนตรีและไม่เรียนดนตรี ผลปรากฏว่าเด็กที่เรียนดนตรี จะมีทักษะ EF มากกว่านักเรียนที่ไม่ได้เรียน และเมื่อทดลองนำกลุ่มเด็กที่ไม่เรียนได้ดนตรี ให้เริ่มเรียนดนตรีผลปรากฏว่าเด็กกลุ่มนี้มีทักษะ EF ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในแง่การวางแผน และการควบคุมพฤติกรรมต่างๆ

การเรียนดนตรีสามารถเสริมทักษะ EF ได้อย่างไรบ้าง

ทักษะEF

1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)

1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน
(Working Memory)

คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ เด็กที่มีเวิร์กกิ้ง เมมโมรีดี ไอคิวก็จะดีด้วย

การเรียนดนตรี นอกเหนือจากความเข้าใจในทฤษฎีแล้ว ยังต้องใช้ความจำในการเล่นอีกด้วย จะสังเกตได้จากเด็กๆที่เรียนดนตรี เมื่อแรกเล่นจะยังใช้วิธีอ่าน และกดตามโน๊ตตามทฤษฎีก่อน แต่ก็ไม่สามารถเล่นให้คล่องเป็นเพลงได้ แต่เมื่อลองได้เล่นหลายครั้ง จำเสียงเพลงได้ทั้งเพลง ใช้วิธีท่องจากเสียงโด เร มี ความคล่องในการเล่น จะเห็นได้ชัดว่าดีขึ้นมากกว่าการเล่นเพียงครั้งเดียวโดยการอ่านโน๊ต

หรือหากพูดถึงเรื่องสกิลการอ่านโน๊ต ถึงแม้จะสามารถใช้วิธีการนับเส้นเพื่อให้ทราบตัวโน๊ตนั้นๆ แต่ถ้าไม่ได้ใช้ความจำโน๊ตบางตัวจากบรรทัด 5 เส้น เพื่อนำไปประยุกต์ในการอ่านตัวที่เหลือ ก็เป็นไปได้ยากที่จะอ่านโน๊ตได้

ทักษะEF

2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control)

2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง
(Inhibitory Control)

คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน “รถที่ขาดเบรก” อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้

การเรียนดนตรี ใครๆก็เรียนได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เล่นได้ เพราะเป็นทักษะที่ไม่ง่าย ต้องใช้ทั้งกระบวนการคิด ทั้งการอ่านโน๊ตที่ต้องคิดทั้งภาพของทำนองและจังหวะ ทำให้เด็กๆหมดความอดทน หรือบางคนอาจจะโมโห งอแง หรือหยุดเล่นไปดื้อๆ ซึ่งในฐานะครู สามารถฝึกเด็กๆ ให้ค่อยๆคิด ใช้ความเข้าใจในการเรียน step by step ใจเย็นๆ และหมั่นฝึกซ้อม จะเห็นได้ชัดว่าเด็กสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นในการเรียน

ทักษะEF

3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)

3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด
(Shift Cognitive Flexibility)

คือความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดตายตัว

การเรียนดนตรี นอกจากการใช้ความเข้าและความจำแล้ว ยังต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่ยึดติดกับแบบเดิมๆ สามารถปรับหรือดีไซน์บทเพลง ให้ออกมาในรูปแบบของแต่ละคน คุณครูอาจจะให้เด็กๆได้ลอง improvise จากเพลงเดิมให้เป็นในรูปแบบของตนเองได้ จะเห็นได้จากการเล่นดนตรีของนักเปียโนในคอนเสิร์ต ต่อให้เป็นเพบงเดียวกัน 10 คนเล่นก็ไม่เหมือนกันถึงแม้จะโน๊ตเดียวกัน เพราะต่างคนจะต่างใส่ความรู้สึกลงไปในเพลง

ทักษะนี้จะถูกใช้มากในการเล่นเพลงป๊อป เพราะส่วนมากเราจะใช้คอร์ดในการเล่น ซึ่งจะถูกแต่งหรือสร้างสรรค์ขึ้นเองโดยผู้เล่น ในบางครั้งที่ต้องมีผู้ร้องประกอบด้วย ก็จะต้องมีความยืดหยุ่น ให้เหมาะสมตามสถานการณ์หรือในช่วงของบทเพลงนั้นๆ

ทักษะEF

4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus/Attention)

4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ
(Focus/Attention)

คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง

การเรียนดนตรี สามารถเพิ่มทักษะนี้ให้เห็นได้ชัดเจน ยกตัวอย่างการเรียนในคลาส เด็กๆจะไม่สามารถโฟกัสได้ในเวลานาน เวลาให้เล่นเพลงก็จะเล่นไปหนึ่งในสามบรรทัดก็จะหยุดเล่นและเริ่มคุยเรื่องอื่น แต่หากคุณครูใจแข็ง สร้างข้อตกลง หรือใช้การจับเวลาเพื่อให้เล่นจนจบเพลงเข้ามาช่วย จะเห็นได้อย่างชัดเจน จากหนึ่งในสามก็เปลี่ยนมาครึ่งบรรทัด หนึ่งบรรทัด ครึ่งเพลง ไปจนจบเพลงได้

นอกจากนี้การเล่นดนตรี ยังต้องใช้สมาธิค่อนข้างสูง ต้องจดจ่อเพราะต้องใช้ร่างกายหลายส่วนในเวลาพร้อมๆกัน ตามองโน๊ต นิ้วเล่นเครื่องดนตรี หูฟังว่าถูกโน๊ตหรือไม่ หรือบางเครื่องดนตรีก็ต้องใช้เท้าเล่นด้วย และยังมีตัวแปรในเรื่องของจังหวะเข้ามากดดันอีกด้วย

ทักษะEF

5. การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control)

5. การควบคุมอารมณ์
(Emotion Control)

คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้ มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้า

ขึ้นชื่อว่าดนตรีก็มักจะเป็นสิ่งที่ใครหลายคนใช้ปลอบประโลมจิดใจ เปลี่ยนจุดสนใจจากความโกรธ เสียใจ หรือซึมเศร้า ให้สงบขึ้นและมาอยู่ในห้วงของเสียงเพลง เด็กๆบางคนที่กำลังโกรธกับสถานการณ์บางอย่าง เมื่อเค้าได้เริ่มเล่นดนตรี ความโกรธนั้นก็จะเริ่มทุเลาลง และเปลี่ยนมาให้ความสุนทรีด้วยเสียงดนตรีแทน

ซึ่งการเล่นดนตรีไม่เพียงแต่จะช่วยปรับอารมณ์ในเด็ก แต่ยังดีกับผู้ใหญ่อีกด้วย มีผู้ใหญ่หลายๆท่านก็เลือกการเล่นดนตรี เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบำบัดความทุกข์และสร้างความสุข แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการด้วย หากมีความรุนแรงก็จะแนะนำให้พบแพทย์ แล้วใช้ดนตรีเป็นทางเลือกในการช่วยบำบัด

ทักษะEF

6. การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring)

6. การประเมินตัวเอง
(Self-Monitoring)

คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง

การเรียนดนตรี เล่นจบหนึ่งเพลง หรือจบหนึ่งเล่ม แนวทางการเรียนที่ดี จะต้องให้เด็กได้มีการประเมินตัวเอง ว่าสิ่งที่ทำได้ดีขึ้นจากบทเรียนคืออะไร จุดที่ยังบกพร่องรอการแก้ไขคืออะไร เพื่อให้เวลาเรียนเด็กได้เข้าใจมากขึ้นถึงเหตุผลที่ต้องฝึกฝนตรงจุดนั้นมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้พ่อแม่ของเด็กต่างชาติค่อนข้างนิยมใช้ เพื่อให้ลูกได้เพิ่มศักยภาพที่มีอยู่ จากไม่ได้เป็นได้ จากที่ดีเป็นดีมาก เมื่อเด็กเข้าใจจุดเด่น จุดด้อย เค้าจะสามารถตั้งเป้าในการเรียนรู้ได้เอง และพร้อมที่จะทำหรือฝึกซ้อมให้บรรลุเป้าหมายได้

ทักษะEF

7. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)

7. การริเริ่มและลงมือทำ
(Initiating)

คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

การเรียนดนตรี สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการฝึกซ้อมอย่างไม่ผัดวันประกันพรุ่ง เพราะเป็นทักษะที่ต้องใช้ส่วนประกอบของร่างมาเกี่ยวข้อง โดยทำงานประสานกัน หากไม่ได้มีการฝึกซ้อม ก็ไม่สามารถเล่นได้แน่ๆ หรือหากเล่นได้ก็อาจจะเล่นได้ไม่ดีมาก

ทักษะEF

8. การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing)

8. การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ
(Planning and Organizing)

คือทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา

การเรียนดนตรี ใครว่ามีแค่ความครีเอทีฟ จินตนาการสร้างสรรค์ก็เรียนได้ ขอตอบได้เลยว่าไม่จริงค่ะ ในการเล่นดนตรีแบบถูกวิธี เราจะต้องเริ่มจากทำความเข้าใจในบทเพลง มองดูตัวโน๊ตพิจารณาเสียงและจังหวะ ดูสัญลักษณ์โดยภาพรวมว่ามีจุดใดที่ยังไม่เข้าใจบ้าง ซึ่งจะเป็นการฝึกคิดอย่างเป็นระบบ ไม่ได้ลงมือเล่นโดยไม่ได้วางแผน

หรือแม้แต่ในการเล่นบางท่อนของเพลง ที่เป็นแพทเทิร์นการเล่นใหม่ ยากกว่าที่เคยเล่น เด็กๆก็ต้องค่อยๆคิดอย่างเป็นระบบ ดูจังหวะ ดูโน๊ต ดูเลขนิ้ว อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อแทนที่จะต้องใช้เวลาในการซ้อม 10 รอบให้เล่นเป็น การที่ครูแนะนำหรือสอนให้เด็กๆคิดอย่างเป็นระบบ อาจจะลดเหลือเพลง 3-5 รอบก็เป็นได้

ทักษะEF

9. การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)

9. การมุ่งเป้าหมาย
(Goal-Directed Persistence)

คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ

การเรียนดนตรี เมื่อเริ่มเล่นเพลงใดก็ตาม การเล่นให้จบเพลง คือหนึ่งเป้าหมายที่ถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติแบบปฏิเสธไม่ได้ เด็กๆบางคนอาจจะยอมแพ้เมื่อเริ่มเล่นไปแล้วเจอท่อนในเพลงที่เล่นยาก แต่หากครูสามารถปรับเปลี่ยนแนวความคิดเด็ก ให้ลองพยายามซ้อม เสริมเทคนิคเพื่อให้เล่นได้ ใจแข็งไม่ยอมให้เด็กล้มเลิกง่ายๆ จะเห็นได้ชัดเจนว่าเด็กได้แง่คิดเรื่องนี้หลังจากการเล่นจนจบเพลง ว่าการบรรลุเป้าหมายจะต้องใช้ความพากเพียร ไม่ล้มเลิกง่ายๆ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยในการเลือกเพลง ให้เหมาะกับระดับที่เด็กสามารถเล่นได้ด้วย

หรือแม่แต่การขอเลิกเรียนดนตรี ทั้งๆที่จริงๆแล้วน้องๆมีความชอบ หรือมีสกิลที่จะเล่นได้ แต่ระหว่างทางอาจพบกับอุปสรรคที่ต้องใช้ความพากเพียรในการซ้อม ทำให้อยากล้มเลิกไม่เรียนต่อ หากคุณพ่อ คุณแม่ใจแข็งได้ แนะนำให้เปลี่ยนแนวคิดจากการเลิกเรียน เป็นการสร้างแรงบัลดาลใจร่วมกับคุณครู เพื่อให้เด็กๆมุ่งมานะในการเรียนต่อไป แล้ววันนึงเค้าจะยินดีกับการตัดสินใจ เคยลองถามเพื่อนที่เลิกเรียน ซึ่งส่วนมากเกิดจากการต้องเตรียมสอบ หรือยากขึ้นทำให้อยากล้มเลิก ซึ่งส่วนมากต่างก็รู้สึกเสียใจกับการตัดสินใจ

บทสรุป

การเรียนดนตรีสามารถเสริมทักษะ EF ได้ครบทั้ง 9 ทักษะ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่หลายปัจจัย จะเห็นได้จากในบทความของแต่ละทักษะ ซินดี้จะมีเขียนถึงคุณครู และตัวคุณพ่อคุณแม่อยู่ในบริบทของการฝึกทักษะอยู่เสมอ เพราะหากเราต้องการให้เด็กมีทักษะ EF ที่เพิ่มขึ้น เราก็ต้องช่วยกันจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Smart EF เช่นกัน นั่นคือ เด็กต้องได้ทำด้วยตนเอง ทำจนงานเสร็จ และต้องทำในเวลาที่กำหนด เพื่อเสริมให้เด็กมีทักษะนี้ติดตัวไปเอาตัวรอด และใช้ชีวิตอย่างประสบความสำเร็จ

#เพราะความฉลาดและการเป็นคนดีคงไม่พอ
#ต้องเอาตัวรอดได้ด้วยถึงจะประสบความสำเร็จ

ด้วยรัก
Kru Cindy Smart Melody

สอบถามข้อมูล