รู้หรือไม่!? การเล่นดนตรี ช่วยลดโอกาส การเกิดโรคความจำเสื่อมได้!

By  Thai Pianist,  5 April 2024

music can prevent memory lost

ดนตรีเหมาะกับทุกเพศทุกวัย

การเล่นดนตรีนั้น สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ยังเด็ก ไปจนถึงผู้สูงอายุเลยทีเดียว ซึ่งการเล่นดนตรีนั้น มีประโยชน์ต่อทุกช่วงวัยต่างกัน และในบทความนี้ อยากชวนทุกคนมาดูประโยชน์ของการเล่นดนตรี ที่มีผลต่อผู้สูงอายุกันค่ะ

ดนตรีนั้นสามารถใช้บำบัดความความเครียด อาการวิตกกังวล ของผู้สูงวัย รวมถึงช่วยพัฒนาสมองให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงจากโรคอัลไซเมอร์ การได้เล่นเพลงต่าง ๆ จนจบยังช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับตัวเองจากความสำเร็จเล็ก ๆ อีกด้วย

นอกจากนี้ยังทำให้สุขใจในชีวิต ระลึกถึงความทรงจำดีๆ ในอดีต ผ่านบทเพลงที่มีคุณค่าต่างๆที่ผ่านชอบ อย่างสุนทราภรณ์เพลงยุค 60 ยุค 70 ให้ได้ร้อง เล่น เต้น กระตุ้นร่างกายให้มีชีวิตชีวา เสียงหัวเราะและรอยยิ้ม ไปกับบทเพลงสามารถทำให้ท่านมีอารมณ์คล้อยตามได้ รวมถึงมีการสร้างเป้าหมายให้ท่านได้คลายความเหงาด้วยค่ะ

เสียงดนตรีเพราะๆ นอกจากจะช่วยลดพฤติกรรมที่ก้าวร้าวหรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆแล้ว การเล่นดนตรีเป็นการช่วยเพิ่ม Cognitive Reserve ช่วยลดโอกาสเกิดโรคความจำเสื่อมเมื่อแก่ตัวลง ทำให้สมองตื่นตัวอยู่เสมอด้วย

โดยผู้เล่น จะได้ฝึกทักษะดังต่อไปนี้

  1. ตามองเพื่ออ่านโน๊ต
    ผู้เล่นจะต้องค่อยๆกวาดสายตา เพื่ออ่านโน๊ตในแต่ละตัวขณะเล่นเพลง
  2. สมองประมวลผลและจดจำ
    โดยแปลภาษาโน๊ตดนตรีที่ได้เห็น ดีดลงบนเปียโน พร้อมจดจำทำนองเพลง
  3. ประสาทหูในการฟัง
    เมื่อดีดลงบนเปียโน ผู้เล่นจะได้ยินเสียง โดยสามารถแยกแยะว่าเป็นเสียงที่ถูกต้องหรือไม่
  4. กล้ามเนื้อมือดีดเปียโน
    เริ่มดีดจากการอ่านโน๊ต จดจำสัมผัส และตำแหน่งของโน๊ตแต่ละตัวได้

เพราะดนตรีสามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย และให้ประโยชน์มากกว่าที่เราคิด ใครสนใจเรียนคอร์สสำหรับผู้สูงอายุ สามารถติดต่อแอดมินมาได้ที่ช่องทางด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ

สนใจเรียนดนตรีกับ Thai Pianist สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ 094-4539422 หรือ 089-6792835
หรือแอดเป็นเพื่อนกับเราได้ที่ Line: @thaipianist

สอบถามข้อมูล