ความจำ

senior and music

ทำไมผู้สูงอายุถึงควรเล่นดนตรี?

รู้หรือไม่!? การเล่นดนตรี ช่วยลดโอกาส การเกิดโรคความจำเสื่อมได้! By  Thai Pianist,  10 April 2024 เล่นดนตรี กิจกรรมช่วยป้องกันอาการความจำเสื่อม ทุกวันนี้ เรากำลังเข้าสู่ยุคของสังคมผู้สูงอายุ และเริ่มมีผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดกิจกรรมมากมาย ที่ช่วยให้เหล่าผู้สูงอายุ ไม่เหงา และสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรงได้ หนึ่งในกิจกรรมนั้นคือ การเล่นดนตรี เพราะนอกจากจะช่วยให้เกิดการกระตุ้นพลังงานเชิงบวก ทำให้มีความสุข สดใสร่าเริง ยังส่งผลถึงสุขภาพจิต และสุขภาพ ช่วยฟื้นฟูร่างกายให้ดีได้นั่นเองค่ะ นอกจากนี้ การเล่นดนตรี ยังสามารถช่วยเสริมทักษะการคิด และการจดจำ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องฝึกฝนอยู่บ่อยๆ ในผู้สูงอายุอีกด้วย เพราะหากไม่ทำการฝึก หรือได้ทำกิจกรรมเชิงนี้บ่อยๆ อาจทำให้เกิดอัลไซเมอร์ได้ นอกจากนี้ การเล่นดนตรี ช่วยให้ผู้สูงอายุได้ขยับตัวแบบไม่เหนื่อยเกิน แต่ก็ช่วยให้ไม่ต้องนั่งอยู่กับที่เฉยๆ ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นของคนวัยนี้จริงๆ ค่ะ นอกจากความสุขทางกายทางใจ ความเพลิดเพลิน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างความภาคภูมิใจให้ตัวเองเมื่อยามชรานั่นเอง เพราะหลายๆ ครั้ง เหล่าผู้สูงอายุเมื่ออยู่บ้านนานๆ และไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากเหมือนแต่ก่อน อาจทำให้พวกเขารู้สึกเหงา และหมดความมั่นใจได้ การเล่นดนตรี ถือเป็นสิ่งที่ช่วยเรื่องนี้ได้ดียิ่งเลยค่ะ …

ทำไมผู้สูงอายุถึงควรเล่นดนตรี? Read More »

music can prevent memory lost

รู้หรือไม่!? การเล่นดนตรี ช่วยลดโอกาส การเกิดโรคความจำเสื่อมได้!

รู้หรือไม่!? การเล่นดนตรี ช่วยลดโอกาส การเกิดโรคความจำเสื่อมได้! By  Thai Pianist,  5 April 2024 ดนตรีเหมาะกับทุกเพศทุกวัย การเล่นดนตรีนั้น สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ยังเด็ก ไปจนถึงผู้สูงอายุเลยทีเดียว ซึ่งการเล่นดนตรีนั้น มีประโยชน์ต่อทุกช่วงวัยต่างกัน และในบทความนี้ อยากชวนทุกคนมาดูประโยชน์ของการเล่นดนตรี ที่มีผลต่อผู้สูงอายุกันค่ะ ดนตรีนั้นสามารถใช้บำบัดความความเครียด อาการวิตกกังวล ของผู้สูงวัย รวมถึงช่วยพัฒนาสมองให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงจากโรคอัลไซเมอร์ การได้เล่นเพลงต่าง ๆ จนจบยังช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับตัวเองจากความสำเร็จเล็ก ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ยังทำให้สุขใจในชีวิต ระลึกถึงความทรงจำดีๆ ในอดีต ผ่านบทเพลงที่มีคุณค่าต่างๆที่ผ่านชอบ อย่างสุนทราภรณ์เพลงยุค 60 ยุค 70 ให้ได้ร้อง เล่น เต้น กระตุ้นร่างกายให้มีชีวิตชีวา เสียงหัวเราะและรอยยิ้ม ไปกับบทเพลงสามารถทำให้ท่านมีอารมณ์คล้อยตามได้ รวมถึงมีการสร้างเป้าหมายให้ท่านได้คลายความเหงาด้วยค่ะ เสียงดนตรีเพราะๆ นอกจากจะช่วยลดพฤติกรรมที่ก้าวร้าวหรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆแล้ว การเล่นดนตรีเป็นการช่วยเพิ่ม Cognitive Reserve ช่วยลดโอกาสเกิดโรคความจำเสื่อมเมื่อแก่ตัวลง ทำให้สมองตื่นตัวอยู่เสมอด้วย โดยผู้เล่น จะได้ฝึกทักษะดังต่อไปนี้ ตามองเพื่ออ่านโน๊ต …

รู้หรือไม่!? การเล่นดนตรี ช่วยลดโอกาส การเกิดโรคความจำเสื่อมได้! Read More »

memorize

ท่องบทเรียนเป็นเพลง ทำไมถึงจำง่ายกว่า?

ท่องบทเรียนเป็นเพลง ทำไมถึงจำง่ายกว่า? By  Thai Pianist,  15 March 2024 ท่องเป็นบทเพลง จำง่ายกว่าท่องผ่านตัวอักษร หลายๆ โรงเรียนสอนพิเศษ มักจะใช้การสอนบทเรียนที่จำยาก หรือมักจะออกข้อสอบ แต่งออกมาเป็นบทเพลงให้เด็กๆ ร้องกัน เพื่อเป็นการท่องจำ.. และมักจะได้ผล! แต่ทำไม เด็กๆ ถึงมักจะจำบทเพลงได้มากกว่า การท่องผ่านตัวอักษรในหนังสือ หรือการบอกกล่าวธรรมดาผ่านคุณครู บทความนี้มีคำตอบค่ะ จากการศึกษาสมอง ทางวิทยาศาสตร์แล้วพบว่า “ดนตรี หรือบทเพลง จะช่วยเพิ่มความจุของความจำระยะสั้นให้กับสมอง และเมื่อเวลาผ่านไป สมองจะเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานหลายอย่างไปพร้อมกันโดยไม่รู้สึกว่าข้อมูลล้นจนเกินไป รวมถึงช่วยให้สมองจดจำข้อมูลได้นานขึ้นด้วย นอกจากนี้ การเล่นดนตรีเป็นกลุ่มยังช่วยเพิ่มความสามารถในการแยกแยะข้อมูลเล็ก ๆ ในพื้นที่ที่ซับซ้อนภายในสมองอีกด้วย ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในระยะยาวได้” (ข้อมูลจากเว็บไซต์ พบแพทย์) ซึ่งหมายความว่า การที่เด็กๆ ได้ฟังบทเพลง ทำให้เป็นการช่วยให้สมองสมารถเปิดรับข้อมูลได้ในจำนวนที่มากขึ้น โดยไม่รู้สึกหนักหน่วงหรือล้าจนเกินไปนั่นเอง ทุกวันนี้ เด็กๆ มักจะเจอบทเรียนที่ยาก และซับซ้อนยิ่งขึ้น เพราะวิวัฒนาการของโลกใบนี้ ที่มากขึ้น จึงทำให้โรงเรียนต่างๆ ต้องหากลอุบาย ในการช่วยให้เด็กๆ สามารถจดจำบทเรียนต่างๆ หรือเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น …

ท่องบทเรียนเป็นเพลง ทำไมถึงจำง่ายกว่า? Read More »